วิธีเช็กจุดน้ำรั่ว ท่อแตกภายในบ้านแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

วิธีเช็กจุดน้ำรั่ว ท่อแตกภายในบ้านแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยประสบปัญหามีท่อประปาแตกรั่วแต่กลับไม่สามารถมองเห็นได้ วิธีเช็กจุดน้ำรั่ว ดังนั้นเราควรรู้วิธีตรวจสอบการแตกรั่วของท่อและอุปกรณ์ประปาภายในบ้านด้วยวิธีเหล่านี้

  • ปิดก๊อกน้ำทุกจุดในอาคาร สังเกตดูหน้าปัดมาตรวัดน้ำ หากมีการเคลื่อนไหวของตัวเลขแสดงว่ามีการแตกรั่วของท่อและอุปกรณ์เกิดขึ้น
  • ตรวจดูก๊อกน้ำ ฝักบัว เครื่องซักผ้า ทุกตัว หากพบว่าเมื่อปิดสนิทไม่มีการใช้น้ำแต่ยังมีน้ำรั่วซึมออกมาให้รีบทำการซ่อมแซมทันที
  • ใส่สารย้อมผ้าลงในถังพักน้ำของโถชักโครกแล้วสังเกตดู หากมีน้ำสีย้อมผ้าไหลลงโถชักโครก แสดงว่ามีปัญหาการรั่วไหลของ ตัวปิด-เปิดน้ำชักโครก ควรรีบทำการซ่อมแซมทันที
  • หากพบว่ามีน้ำเปียกนองอยู่ตลอดเวลาที่พื้นข้างอาคาร หรือมีน้ำผุดให้เห็น แสดงว่ามีการแตกรั่ว ของท่อประปาในบริเวณนั้น

ข้อแนะนำที่จะให้ผู้ใช้น้ำสามารถตรวจสอบการแตกรั่วของระบบประปาในอาคารได้โดยสะดวก วิลล่า และสามารถเห็นได้ง่ายยิ่งขึ้นหากมีการรั่วไหลก็คือการวางท่อประปาและอุปกรณ์ประปาต่าง ๆ ไว้เหนือพื้นดิน ที่ไม่ให้น้ำท่วมถึงได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของอาคารสถานที่นั้นด้วย เท่ากับเป็นการประหยัดเงิน ไม่ปล่อยให้รั่วไหลไปตามน้ำ

วิธีเช็กจุดน้ำรั่ว

วิธีเช็กน้ำรั่วซึมจากท่อประปาด้วยตนเอง

น้ำรั่วซึมเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องดูแล เพราะไม่เพียงส่งผลให้ตัวเลขบิลค่าน้ำสูงขึ้น แต่ยังทำให้บ้านเกิดน้ำนองหรือท่วมขังที่ส่งผลให้บ้านเกิดเชื้อราและผุพังได้เร็วขึ้น โดยหนึ่งในปัญหาน้ำรั่วซึมที่มักพบบ่อยนั้นมาจากท่อประปา มาเตรียมตัวรับมือกับปัญหานี้ได้ด้วยการรู้วิธีตรวจสอบท่อประปารั่วกัน

สังเกต 6 สัญญาณน้ำรั่วซึม

  1. มีจุดที่พื้นทรุดตัวต่ำกว่าบริเวณอื่น เมื่อเกิดน้ำรั่วซึมเป็นระยะเวลานาน ก็จะทำให้ดินในบริเวณโดยรอบเปียกและเกิดการอ่อนตัวจนส่งผลให้พื้นบริเวณนั้นทรุดตัวลงได้
  2. บิลค่าน้ำเพิ่มสูงขึ้นทั้งที่ไม่ได้ใช้น้ำมากกว่าปกติ เมื่อเกิดน้ำรั่วซึม ย่อมเกิดน้ำไหลอยู่ตลอด ดังนั้นตัวเลขแสดงปริมาณน้ำประปาจะยังคงเดินอยู่แม้จะไม่ได้มีการใช้น้ำ
  3. มีน้ำเปียกที่พื้นอยู่เสมอหรือมีตะไคร่น้ำขึ้น เมื่อมีจุดแตกรั่ว น้ำจะไหลหรือซึมออกมาที่พื้นอยู่เสมอ และยิ่งนานวันความชื้นก็จะทำให้เกิดตะไคร่จับได้
  4. มีน้ำเปียกหรือหยดจากเพดานหรือผนังอยู่เสมอ เช่นกัน น้ำจะไหลออกจากจุดรั่ว ทำให้เพดานเปียกและหยดออกมาตามช่องระหว่างฝ้าได้
  5. น้ำจากก๊อกน้ำไหลอ่อนลง เมื่อเกิดท่อประปาแตกในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดที่แตกมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งทำให้น้ำรั่วไหลออกมาก ปริมาณน้ำที่จะส่งไปถึงก๊อกน้ำก็จะน้อยลง น้ำประปาจึงไหลอ่อนลง
  6. มีเสียงเครื่องปั๊มน้ำทำงานแม้จะไม่ได้ใช้น้ำ น้ำที่รั่วไหลออก จะทำให้น้ำในถังพักน้ำของเครื่องปั๊มน้ำน้อยลง เครื่องปั๊มน้ำจึงต้องปั๊มน้ำเข้ามาเก็บให้เต็ม ยิ่งถ้ารั่วมาก ก็จะยิ่งมีปริมาณน้ำไหลทิ้งมากขึ้น เราจะก็จะได้ยินเสียงเครื่องปั๊มน้ำทำงานถี่ขึ้น

เช็กว่าน้ำรั่วซึมจากท่อประปาใช่หรือไม่

  1. ปิดก๊อกน้ำทั้งหมดและดูที่มิเตอร์หรือมาตรวัดน้ำ หากตัวเลขที่หน้าปัดมิเตอร์น้ำยังคงเดินอยู่ แปลว่า มีน้ำรั่วซึมในบ้าน
  2. ตรวจดูก๊อกน้ำ ฝักบัว เครื่องซักผ้า และเครื่องใช้ที่ต่อท่อกับน้ำ เพราะน้ำรั่วนั้นอาจเกิดจากส่วนนี้ได้ ส่วนวิธีแก้ไขนั้น ถ้ารั่วที่ก๊อกน้ำหรือฝักบัว ให้เปลี่ยนก๊อกน้ำหรือฝักบัว แต่ถ้าเป็นเครื่องซักผ้าและเครื่องใช้อื่น ๆ ให้เรียกช่างเฉพาะทางมาซ่อมแซม
  3. สำหรับชักโครก ให้ตรวจดูโดยใส่สีย้อมผ้าลงในถังพักน้ำ ถ้าพบสีไหลลงในชักโครก แสดงว่า มีน้ำรั่วเกิดขึ้น

ถ้าตรวจสอบดูแล้วไม่พบจุดรั่ว สันนิษฐานได้ว่า สาเหตุที่มีน้ำประปารั่วในบ้านนั้นน่าจะเกิดจากท่อประปาร้าวหรือแตก และให้เช็กหาจุดรั่วที่ท่อประปา

เช็กหาจุดรั่วตามบริเวณท่อประปา

ให้เช็กท่อประปารั่วในบ้านทีละจุด เพื่อความมั่นใจว่าจะพบจุดรั่วทั้งหมด โดยใช้วิธีปิดวาล์วเช็กทีละส่วนของบ้าน โดยเริ่มจากการปิดวาล์วจ่ายน้ำที่ชั้นบนก่อน แล้วค่อยสลับไปเปิดวาล์วจ่ายน้ำชั้นล่าง ถ้าแต่ละชั้นมีวาล์วจ่ายน้ำหลายจุด ให้ปิดทั้งหมดและเปิดวาล์วทีละจุด

วิธีนี้จะช่วยให้ระบุหาจุดรั่วได้ง่ายขึ้น และเมื่อเปิดเช็กทีละวาล์ว ให้ดูที่มิเตอร์ว่า ตัวเลขวัดปริมาณการใช้น้ำยังคงเดินอยู่หรือไม่ ถ้ายังเดินอยู่ ให้เดินหาจุดรั่วของท่อประปาบนพื้น แต่สำหรับท่อประปาที่ซ่อนใต้พื้น ผนัง และเพดานนั้น ให้ตรวจสอบตามวิธีด้านล่าง

เช็กท่อประปารั่วใต้ดิน

ให้เดินตรวจดูทั้งบริเวณภายนอกและภายในบ้านว่า มีน้ำรั่วซึมหรือขังที่พื้นบ้านและสนามหญ้าอยู่ตลอดเวลาหรือไม่ ถ้ามี แสดงว่า อาจมีท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน ซึ่งถ้าจริง จะต้องตามช่างประปามาตรวจสอบและซ่อมแซมจุดรั่วโดยอาจถึงขั้นต้องรื้อพื้นได้

เช็กท่อประปารั่วในผนัง

ให้เดินตรวจดูว่า มีจุดน้ำหยดหรือซึมเปียกที่บริเวณกำแพงหรือบริเวณพื้นที่ติดกับกำแพงหรือไม่ ถ้ามี อาจเป็นไปได้ว่าท่อประปาที่พื้นหรือผนังรั่ว ซึ่งหากท่อประปาที่ผนังเป็นแบบซ่อน อาจหาจุดรั่วซึมที่ชัดเจนเองได้ยากและต้องให้ช่างผู้ชำนาญช่วยดูแลและซ่อมแซม เพราะต้องใช้ความชำนาญและอุปกรณ์ช่วย

เช็กท่อประปารั่วในเพดาน

มีขั้นตอนดังนี้

  1. เปิดช่องเซอร์วิสหรือช่องที่สำหรับเปิดเข้าไปในเพดาน แต่ถ้าเป็นบ้านเก่า อาจไม่มีช่องนี้ จะต้องให้ช่างประปารื้อฝ้าเพดานออก เพื่อตรวจหาจุดที่น้ำประปารั่ว
  2. ตรวจสอบจุดท่อประปารั่วตามข้อต่อและสายท่อได้ไม่ยาก เพียงนำทิชชู่ไปพันบริเวณที่คาดว่าจะเป็นจุดรั่ว ซึ่งมักเป็นบริเวณข้อต่อ และลองใช้น้ำ เช่น เปิดฝักบัว เปิดก๊อกน้ำ หรือกดชักโครก แล้วปล่อยไว้ 15-30 นาที ถ้ามีน้ำรั่วซึม ทิชชู่ก็จะเปียก

การตรวจสอบการรั่วไหลเป็นไปได้ง่ายหากวางท่อประปาแบบเดินลอย คือ วางบนพื้นดิน อย่างไรก็ตาม บ้านส่วนใหญ่นิยมซ่อนท่อประปาไว้ในผนังและพื้นดินเพื่อความสวยงาม จึงไม่ง่ายต่อการตรวจสอบและซ่อมแซม แต่เราก็สามารถตรวจสอบหาจุดน้ำรั่วเบื้องต้นเองได้ไม่ยาก“ ไม้ดอกกระถาง ” น่าปลูก เพิ่มสีสันให้สวนสวย